เมนู

เราฉันนั้นเหมือนกัน " เมื่อทรงปรารภพระองค์แสดงธรรม ได้ทรงภาษิต
พระคาถาเหล่านี้ ในนาควรรคว่า:-
1. อหํ นาโคว สงฺคาเม จาปาโต ปติตํ สรํ
อติวยากฺยนฺติติกฺขิสฺสํ ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน.
ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ ทนฺตํ ราชาภิรูหติ
ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ โยติวากฺยนฺติติกฺขติ.
วรมสฺสตรา ทนฺตา โยติวากฺยนฺติติกฺข่ติ.
กุญฺชรา จ มหานาคา อตฺตทนฺโต ตโต วรํ.

" เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อ
ลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น, เพราะชนเป็น
อันมากเป็นผู้ทุศีล. ชนทั้งหลาย ย่อมนำสัตว์พาหนะ
ที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม, พระราชาย่อมทรงสัตว์
พาหนะที่ฝึกแล้ว, บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ ฝึก
(ตน) แล้ว เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย, ม้า
อัสดร 1 ม้าสินธพผู้อาชาไนย 1 ช้างใหญ่ชนิด
กุญชร 1 ที่ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ, แต่
บุคคลที่มีตนฝึกแล้ว ย่อมประเสริฐกว่า (สัตว์พิเศษ
นั้น)."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโคว คือ เหมือนช้าง.
สองบทว่า จาปาโต ปติตํ ความว่า หลุดออกไปจากธนู.
บทว่า อติวากฺยํ ความว่า ซึ่งคำล่วงเกิน ที่เป็นไปแล้วด้วย

สามารถแห่งอนริยโวหาร 8.1
บทว่า ติติกฺขิสฺสํ ความว่า ช้างใหญ่ที่เขาฝึกหัดดีแล้ว เข้าสู่สงคราม
เป็นสัตว์อดทน ไม่พรั่นพรึงซึ่งลูกศรที่หลุดจากแล่งตกลงที่ตน ชื่อว่า ย่อม
ทนทานต่อการประหารทั้งหลาย มีประหารด้วยหอกเป็นต้นได้ ฉันใด, เรา
ก็จักอดกลั้น คือจักทนทานคำล่วงเกิน มีรูปอย่างนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า ทุสฺสีโล หิ ความว่า เพราะโลกิยมหาชนนี้เป็นอันมาก
เป็นผู้ทุศีล เที่ยวเปล่งถ้อยคำเสียดสีด้วยอำนาจแห่งความชอบใจของตน,
การอดกลั้น คือการวางเฉย ในถ้อยคำนั้น เป็นภาระของเรา.
บทว่า สมิตึ ความว่า ก็ชนทั้งหลาย เมื่อจะไปสู่ท่ามกลางมหาชน
ในสมาคมสถาน มีอุทยานและสนามกรีฑาเป็นต้น เทียมโคหรือม้าที่ฝึก
แล้วเท่านั้นเข้าที่ยานแล้ว ย่อมนำไป.
บทว่า ราชา ความว่า แม้พระราชา เมื่อเสด็จไปสู่ที่เห็นปาน
นั้นนั่นแหละ ย่อมทรงสัตว์พาหนะเฉพาะที่ฝึกแล้ว.
บทว่า มนุสฺเสสุ ความว่า แม้ในมนุษย์ทั้งหลายผู้ฝึกแล้ว คือผู้
สิ้นพยศแล้วแล2 ด้วยอริยมรรค 4 เป็นผู้ประเสริฐ.
1. อนริยโวหาร 8 คือ:-
1. อทิฏฺเฐ ทิฏฺฐวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นว่าเห็น.
2. อสฺสุเต สุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ยินว่าได้ยิน.
3. อมุเต มุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่รู้ว่ารู้.
4. อวิญฺญาเต วิญฺญาตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่ทราบชัดว่าทราบชัด.
5. ทิฏฺเฐ อทิฏฺฐวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่เห็นว่าไม่เห็น.
6. สุเต อสฺสุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน.
7. มุเต อมุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่รู้ว่าไม่รู้.
8. วิญฺญาเต อวิญฺญาตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ทราบชัดว่าไม่ทราบชัด.
2. นิพฺพิเสว= มีความเสพผิดออกแล้วเทียว.

บทว่า โยติวากฺยํ ความว่า บุคคลใดย่อมอดกลั้น คือย่อมไม่
โต้ตอบ ไม่พรั่นพรึงถึงคำล่วงเกินมีรูปเช่นนั้น แม้อันเขากล่าวซ้ำซากอยู่.
บุคคลผู้ฝึกแล้วเห็นปานนั้น เป็นผู้ประเสริฐ.
ม้าที่เกิดจากแม่ม้าโดยพ่อลา ชื่อว่า ม้าอัสดร. บทว่า อาชานียา
ความว่า ม้าตัวสามารถเพื่อจะพลันรู้เหตุที่นายสารถีผู้ฝึกม้าให้กระทำ.
ม้าที่เกิดในแคว้นสินธพ ชื่อว่า ม้าสินธพ. ช้างใหญ่ที่เรียกว่ากุญชร
ชื่อว่า มหานาค.
บทว่า อตฺตทนฺโต เป็นต้น ความว่า ม้าอัสดรก็ดี ม้าสินธพก็ดี
ช้างกุญชรก็ดี เหล่านั้น ที่ฝึกแล้วเทียว เป็นสัตว์ประเสริฐ, ที่ยังไม่ได้ฝึก
หาประเสริฐไม่, แต่บุคคลใด ชื่อว่ามีตนฝึกแล้ว คือหมดพยศแล้ว
เพราะความที่ตนเป็นผู้ฝึกด้วยอริยมรรค 4. บุคคลนี้ย่อมประเสริฐกว่า
สัตว์พาหนะ มีม้าอัสดรเป็นต้นแม้นั้น คือย่อมเป็นผู้ยิ่งกว่าสัตว์พาหนะ
มีม้าอัสดรเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งสิ้น.
ในกาลจบเทศนา มหาชนแม้ทั้งหมดนั้น ผู้รับสินจ้างแล้วยืนด่า
อยู่ในที่ทั้งหลาย มีถนนและทางสามแยกเป็นต้น บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว
ดังนี้แล.
เรื่องของพระองค์ จบ.

2. เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นควาญช้าง [233]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้เคยเป็นนายหัตถาจารย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น หิ เอเตหิ "
เป็นต้น.

ควาญช้างฝึกช้างให้ดีได้เพราะได้นัยจากภิกษุ


ได้ยินว่า วันหนึ่ง ภิกษุนั้นเห็นนายควาญช้าง* ผู้ตั้งใจว่า " เราจัก
ฝึกช้างสักตัวหนึ่ง" แล้วไม่อาจเพื่อจะให้ช้างสำเหนียกเหตุที่ตนปรารถนา
ได้ อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี จึงเรียกภิกษุทั้งหลายซึ่งยืนอยู่ที่ใกล้มาแล้ว
กล่าวว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่านายหัตถาจารย์นี้ พึงแทงช้างตัวนี้
ในที่ชื่อโน้นไซร้, เขาพึงให้มันสำเหนียกเหตุนี้ได้โดยเร็วทีเดียว." เขาสดับ
คำของภิกษุนั้นแล้ว จึงทำอย่างนั้น ก็ฝึกช้างตัวนั้นให้เรียบร้อยได้.2
ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา.

ฝึกตนดีแล้วย่อมไปสู่ที่ไม่เคยไปได้


พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า " เขาว่าเธอ
พูดอย่างนั้นจริงหรือ ?" เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า " จริง พระเจ้าข้า " ทรง
ติเตียนภิกษุนั้นแล้ว ตรัสว่า " บุรุษเปล่า เธอต้องการอะไร ด้วยยาน
คือช้าง หรือยานอย่างอื่น ที่ฝึกแล้ว ? เพราะชื่อว่าคนผู้สามารถเพื่อจะไป
สู่สถานที่ไม่เคยไปด้วยยานเหล่านี้ หามีไม่, แต่ผู้มีตนฝึกดีแล้วอาจไปสู่
สถานที่ไม่เคยไปได้; เพราะฉะนั้น เธอจงฝึกตนเท่านั้น, เธอจะต้องการ
อะไรด้วยการฝึกสัตว์พาหนะเหล่านั้น " แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-
1. หตฺถิทมกํ ซึ่งบุคคลผู้ฝึกซึ่งช้าง. 2. สทนฺตํ ให้เป็นสัตว์ที่ฝึกดีแล้ว.